7 โบรกเกอร์สำหรับ: MetaTrader 4 ปี 2024

ที่โบรกเกอร์คำติชมการจัดอันดับลักษณะเฉพาะบัญชีผู้ใช้แนะนำ
1
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker 1
อันดับที่ 1
  • ใบอนุญาตจาก ASIC, CySEC, IFSC และ DFSA
  • โบนัสต้อนรับฟรี 50$
  • เริ่มต้นฝากเงินขั้นต่ำเพียงแค่ 5$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ XM
2
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker 2
อันดับที่ 2
  • ใบอนุญาตจาก FSA, CBCS, FSC และ FSCA
  • มี Exness Social Trading
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ Exness
3
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker 3
อันดับที่ 3
  • ใบอนุญาตจาก VN และ VFSC
  • โบนัสเงินฝาก 30%
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 25$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ GMI Markets
4
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker 2
ได้รับความนิยมมากที่สุด
  • ใบอนุญาตจาก IFSC และ CySEC
  • โบนัสต้อนรับฟรี 30$
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 25$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ RoboForex
5
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker
มีความโปร่งใสที่สุด
  • ใบอนุญาตจาก ASIC, CySEC, SCB และ FSA
  • มี Zulu Trade และ Myfxbook
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 200$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ IC Markets
6
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker 2
การช่วยเหลือดีที่สุด
  • ใบอนุญาตจาก IFSA
  • โบนัสเงินฝาก 100%
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ FBS
7
รีวิว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ranking broker
ปลอดภัยมากที่สุด
  • ใบอนุญาตจาก FSA, FCA, CySEC, FSCA และ Labuan FSA
  • โบนัสต้อนรับฟรี 30$
  • เงินฝากขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 100$
เปิดบัญชี
ฟรี
ดูเพิ่มเติม
ไปที่ Tickmill

เชื่อว่าเหล่าเทรดเดอร์ทุกท่าน ต้องรู้จักคำว่า “แพลตฟอร์ม” ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการเทรดอย่างแน่นอน เพราะไม่ได้เป็นแค่ตัวกลางเชื่อมระหว่างเทรดเดอร์กับโบรกเกอร์เท่านั้น ยังเรียกได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนสำคัญที่จะทำให้การเทรดของคุณราบรื่น แต่จะเพิ่มความสะดวก ลดความยากลำบากในการเทรดได้มากเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่เลือกใช้นี้ด้วย

โดยแพลตฟอร์มที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยนี้ และคาดว่าชาวเทรดส่วนใหญ่ก็ต้องรู้จักกันมาบ้าง ก็คือ MT4 แพลตฟอร์มการเทรดบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมาอย่างยาวนาน ที่สามารถใช้งานได้บนหลายอุปกรณ์ ทั้งตั้งโต๊ะและเคลื่อนที่ และมีเครื่องมือ ฟังก์ชันต่าง ๆ ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งแม้ว่าจะเป็นมือใหม่พึ่งก้าวสู่วงการการเทรด ก็คงต้องเก็บแพลตฟอร์ชื่อดังนี้ไว้เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของแพลตฟอร์มที่จะใช้งานเป็นแน่ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำพร้อมเล่ารายละเอียดสำคัญให้ฟัง จะมีเรื่องไหนจำเป็นต้องรู้บ้าง ตามไปอ่านกันเลย

ข้อดี/ข้อเสีย

ข้อดี
  • ใช้งานง่าย มือใหม่ก็เรียนรู้ได้ไม่ยาก
  • ปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลให้เป็นไปตามความต้องการได้
  • ใช้ได้ในทั้งบนเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟนในทุกระบบปฏิบัติการ
  • ใช้ทรัพยากรของเครื่องไม่มาก
  • มีฟังก์ชันหลากหลายให้เลือกใช้งาน
ข้อเสีย
  • การใช้ Expert Advisor อาจยังมีความคลาดเคลื่อน เคยมีกรณีที่เกิดปัญหา
  • ความเร็วในการเทรดอาจจะยังไม่มากพอสำหรับการเทรดที่ต้องการความไวสูง
  • ยังไม่เปิดให้ปรับแต่ง Time Frame เอง

แพลตฟอร์ม MetaTrader 4 คืออะไร ?

MetaTrader-main

MetaTrader 4 หรือที่รู้จักกันในชื่อ MT4 ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปีพ.ศ. 2548 โดยบริษัท MetaQuotes Software Corp. เพื่อเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเทรดและวิเคราะห์ตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Window, MacOS โหลดแอพพลิเคชั่นบมมือถือ Android, ios หรือจะใช้งานผ่านเว็บไซต์โดยตรงอย่าง WebTrader ก็ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์ และถึงแม้ว่าจะขึ้นชื่อเรื่องการเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขาย Forex ที่ได้รับความนิยมมาก แต่ก็ไม่ได้มีสินทรัพย์เพียงแค่นี้เท่านั้น เพราะยังมีสินทรัพย์จำนวนมากที่คุณสามารถดำเนินคำสั่งซื้อผ่านทาง MT4 ได้ ไม่ว่าจะเป็น คู่สกุลเงินดิจิตอล ดัชนี โลหะมีค่า และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาส่วนต่าง หรือเรียกว่า CFDs

เหตุผลที่ต้องใช้ MT4 ในการเทรด?

แพลตฟอร์มการซื้อขายอย่าง MT4 จะช่วยให้การเทรดของคุณได้กำไรง่ายขึ้น แม้ว่าในช่วงแรก ๆ ที่ใช้งานอาจจะดูซับซ้อนแต่เมื่อใช้งานบ่อย ๆ ก็จะเริ่มเกิดความคุ้นชินกับ MT4 และจะไม่มีคำว่า ‘ยาก’ หรือ ‘ไม่อยากใช้’ แพลตฟอร์มนี้เลย เพราะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี ไม่ยากอย่างที่คิด และทำให้การเทรดสินทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือวิเคราะห์จำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถเทรดได้ในทุกที่ ดำเนินการตามคำสั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว เขียนโปรแกรมส่วนตัว และไม่จำกัดกลยุทธ์ในการเทรด ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ดึงดูดให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกใจแพลตฟอร์มกันเทรดนี้

7 คุณสมบัติของแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 ?

ดีไซน์ดี ใช้งานง่าย

ถึงแม้ตัวแพลตฟอร์มจะมีมานานเกือบ 20 ปี แล้วแต่ก็ไม่ตกยุค ออกแบบได้เรียบง่าย กดคลิกไม่กี่ทีก็สามารถดำเนินตามคำสั่งซื้อสำเร็จ และผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลได้ตามความชอบของเทรดเดอร์เองด้วย เช่น ปรับรูปแบบของกราฟและโทนสี เป็นต้น อีกทั้งมือใหม่ก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้ MT4 ตัวนี้ได้ไม่ยาก แถมยังเรียนรู้ได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มการเทรดอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซต์ของบางโบรกเกอร์ ใน Google หรือ YouTube เมื่อกดค้นหาวิธีการใช้งาน ก็จะเจอทันที มีสอนทั้งในรูปแบบของคลิปวิดีโอและบทความอธิบาย

รูปแบบของกราฟ

เนื่องจากความถนัดของเทรดเดอร์แต่ละคนในการมองเพื่อวิเคราะห์กราฟอาจจะแตกต่างกันออกไป ทางแพลตฟอร์ม MT4 จึงมีกราฟให้เลือกแสดง 3 รูปแบบด้วยกันคือ กราฟเส้น (Line Chart), กราฟแท่ง (Bar Chart) และกราฟแท่งเทียน (Candlestick)

ใช้ได้บนหลายอุปกรณ์

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าใช้ได้บนหลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งติดตั้งโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ Windows , MacOS หรือจะโหลดแอพพลิเคชันลงบนสมาร์ทโฟนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ ios ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่อยากลงโปรแกรมหรือติดตั้งแอพพลิเคชันก็สามารถเปิดใช้งานผ่านเว็บอย่างตัว WebTrader ได้เลย ซึ่งฟังก์ชันการใช้งานบนเดสก์ท็อป สมาร์ทโฟน และเว็บไซต์ก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่การกับว่าเทรดเดอร์ต้องการฟังก์ชันมากน้อยเท่าใด แต่การลงโปรแกรมเพื่อใช้งานบนเดสก์ท็อปจะดีกว่าตรงที่ว่า ค่อนข้างจะมีฟังก์ชันให้เลือกใช้งานมากที่สุดไม่หนัก ไม่เปลืองทรัพยากร

ไม่เปลืองทรัพยากร

ทรัพยากรในที่นี้หมายถึง ทรัพยากรของเครื่องที่จะใช้ลงโปรแกรมหรือโหลดติดตั้งแอพพลิเคชั่น โดย MT4 มีขนาดเล็ก ไม่กินหน่วยความจำในเครื่อง ฉะนั้นหากใครติดปัญหาเรื่อง เครื่องเหลือพื้นที่ความจำน้อยทำให้ไม่สามารถติดตั้งได้ ก็สามารถตัดปัญหาข้อนี้ทิ้งไปได้เลย

Time Frame

MetaTrader-Time Frame

มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจำนวนมากมาประกอบรวมเป็น ‘กราฟ’ ซึ่งก็คือกรอบเวลาหรือเวลาที่กำหนดให้กราฟราคาแสดงในช่วงเวลานั้น ๆ โดยเทรดเดอร์สามารถเลือกได้เองเลยว่า จะกำหนดให้เทรดในช่วงเวลาไหน ใน MT4 เปิดให้เลือกถึง 9 Time Frame ด้วยกัน จะมี M1 (1 นาที), M5 (5 นาที), M15 (15นาที), M30 (30 นาที), H1 (1 ชั่วโมง), H4 (4 ชั่วโมง), D1 (รายวัน), W1 (รายสัปดาห์) และ MN (รายเดือน) ที่ให้เทรดเดอร์เลือกใช้ได้ ซึ่งจากจุดนี้แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มนี้คำนึงถึงผู้ใช้งาน เพราะการเปิดเลือกหน้าต่างเวลาแบบนี้ตามความถนัด จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเทรดเดอร์เองในการดูทิศทางการเคลื่อนไหวของกราฟ

แสดงหน้าต่างการเทรดหลากหลายได้พร้อมกัน

อีกคุณสมบัติที่เหล่าเทรดเดอร์มืออาชีพ หรือผู้ที่เทรดสินทรัพย์มากกว่า 1 คู่สกุลเงินต่างชื่นชอบ เพราะการที่เปิดได้หลาย ๆ หน้าต่างการเทรดพร้อมกัน จะทำให้ตัวผู้เทรดเองสามารถดูแนวโน้มและวางแผนขั้นตอนต่อการเทรดขั้นถัดไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้ยอยู่กับสภาพเครื่องที่ใช้งานด้วย เพราะยิ่งเปิดหน้าจอเยอะ ๆ เครื่องจะทำงานหนัก อาจจะทำให้การเทรดเป็นไปได้ช้ากว่าเดิม

รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา MQL4

เทรดเดอร์คนไหนที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมและต้องเขียนเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ แต่ย้ำว่าต้องติดตั้งโปรแกรม MT4 แล้วเท่านั้น โดยภาษาที่ใช้เขียนได้ก็คือ MQL

8 เครื่องมือ/แผงเมนูใน MT4 ที่ควรรู้

เมื่อเปิดหน้าต่างของโปรแกรม MT4 ที่ลงไว้ขึ้นมา จะประกฏเป็นกราฟ แผง ตาราง แถบกล่องเมนูต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย จะมีจุดไหนที่ต้องรู้บ้าง มีดังนี้

Market Watch

MetaTrader-Market Watch

เป็นแผงที่อยู่ด้านซ้ายแถบบน ๆ ของหน้าจอ ซึ่งจะแสดงถึงความเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่ตัวเทรดเดอร์คนนั้นสามารถเทรดได้ และมีแถวแสดง ราคา Bid และ Ask ณ เวลาปัจจุบัน ของสินทรัพย์แต่ละอย่าง

กราฟ (Chart)

MetaTrader-Chart

เป็นแผงที่มีขนาดใหญ่สุดในหน้าจอ โดpจะแสดงความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยจะแสดงออกอยู่ในรูปกราฟ ตามที่ได้มีการตั้งค่าเลือกรูปแบบไว้ ผู้ใช้งานก็สามารถถดูกรอบเวลา (Time Frame) ที่แตกต่างกันได้

แผงนำทาง (Navigator)

MetaTrader-Navigator

ที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบัญชีซื้อขายจริงของตนเอง หรือสร้างบัญชีเพื่อทดสอบกลุยุทธ์ในการเทรดก่อนได้ ผ่านไอคอนที่มีคำกำกับว่า Account นอกจากนี้แล้วแผงเมนูดังกล่าวยังมีในส่วนของ Indications ที่เทรดเดอร์สามารถเข้าไปเพิ่มตัวชี้วัดในการเทรดของตนเองได้

แผงเทอร์มินัล (Terminal)

MetaTrader-Terminal

แผงที่มีลักษณะเป็นแนวนอนยาวที่จะมีเมนูแท็บหลายอย่างอยู่ด้านล่างของแผง ซึ่ง Terminal จะช่วยให้เทรดเดอร์เห็นถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติการเทรดที่ผ่านมา เช่น คำสั่งซื้อ ผลการซื้อขาย กำไร – ขาดทุน เป็นต้น ทั้งยังแสดงการแจ้งเตือนต่าง ๆ เช่น ข้อความเกี่ยวกับบัญชีและความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ เป็นต้น

ตัวอย่างเมนูในแผงนี้ เช่น Account History ที่เก็บรวบประวัติการดำเนินการคำสั่งซื้อที่ได้เสร็จสิ้นไปแล้วไว้ทั้งหมด และเมนู Mailbox ส่วนแสดงข้อความที่ส่งให้ผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนี้

เครื่องมือการวิเคราะห์

เรียกว่าเป็นอีกจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเครื่องมือการวิเคราะห์ของ MT4 มักจะเกี่ยวกับการคำนวณราคา เวลาหรือปริมาณซื้อขาย เช่น

  • Autochartist เครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยง

MetaTrader-Autochartist

  • Bollinger Bands เครื่องมือวัดความผันผวนของราคาที่เกิดขึ้น

MetaTrader-Bollinger Bands

  • Pivot points เครื่องมือค้นหาจุดเข้า – จุดออกในการเทรด

MetaTrader-Pivot points

  • RSI เครื่องมือที่แสดงถึงความเคลื่อนไหวของราคาล่าสุด ที่จะช่วยหาจุดเวลาที่แนวโน้มเริ่มชะลอตัว

MetaTrader-RSI

Indicator

เครื่องมือที่นำตัวเลขดิบของราคาหรือปริมาณการเทรด มาคำนวณด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ทิศทางราคาประกอบการตัดสินซื้อขาย

ระบบคัดลอกการเทรด (Copy Trade)

ระบบที่จะเพิ่มโอกาสให้การเทรดของเหล่าเทรดเดอร์มีกำไรมากขึ้น เพราะ Copy Trade เป็นการคัดลอกรูปแบบกลยุทธ์ในการซื้อขายของเทรดเดอร์มืออาชีพที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นแบบอย่างให้ผู้ที่คัดลอกนำไปปรับใช้ในแบบของตนเอง

Expert Advisor (EA)

โปรแกรมช่วยเทรดอัตโนมัติ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยแบ่งเบาเทรดเดอร์ ทั้งยังช่วยให้มีเวลาไปทำสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครนั่งเฝ้าหน้าจอเทรดได้ตลอดเวลา และเครื่องมือที่เป็น ‘บอท’ อย่าง EA นี้จะช่วยคุณ เพราะเพียงแค่เปิดเครื่องมือนี้ไว้ มันก็จะทำงาน ดำเนินการเทรดโดยอัตโนมัติตามที่ได้ถูกลงคำสั่งไว้ โดยปุ่มกดใช้งานจะชื่อว่า ‘AutoTrading’ แต่ก็ต้องใช้งานเครื่องมือ EA อย่างมีสติ ระมัดระวังเช่นกัน เพราะเคยมีปัญหาเกิดในบางกรณีมาแล้ว แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

โบรกเกอร์ที่ใช้แพลตฟอร์มนี้

โบรกเกอร์เกือบทั้งหมดก็ไม่พลาดที่จะเลือกใช้แพลตฟอร์ม MT4 ที่ยังครองอันดับแพลตฟอร์มการเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมาอย่างยาวนานนี้ เพราะไม่ได้แค่ใช้งานง่าย เหล่าเทรดเดอร์สามารถเข้าถึง ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ง่ายเพียงเท่านั้น ทั้งยังมีฟังก์ชันหลากหลาย เครื่องมือวิเคราะห์จำนวนมาก ให้เทรดเดอร์ได้เลือกใช้เพื่อทำให้เส้นทางการเทรดของพวกเขาประสบความสำเร็จ อย่างเช่น โบรกเกอร์เจ้าดังในไทยอย่าง Exness, XM และ IC Markets เป็นต้น

การใช้งานเริ่มต้น

ก่อนที่จะเริ่มเข้าใช้งานในแพลตฟอร์มซื้อขายนี้ เทรดเดอร์จะต้องเลือกโบรกเกอร์มาดูแลเงินทุนของตนเองก่อน หลังจากนั้นให้สมัครบัญชีจริงกับโบรกเกอร์เจ้าที่เลือก แต่หากเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ยังไม่เคยเทรด หรือต้องการทดลองบัญชี ก็สามารถเลือกเปิด ‘บัญชีทดลอง’ ที่จะซื้อขายกันผ่านเงินเสมือนจริงก็ได้ จากนั้นให้ติดตั้งแอพหรือลงโปรแกรมลงบนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็คลิกล็อกอินเข้าสู่ระบบหรือลงเทียนใหม่ เพื่อเริ่มต้นใช้งาน

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว จะพบกับหน้าต่างที่เป็นไปด้วยแผงเมนูทั้ง 4 ได้กล่าวไปในข้อต้น และแถบเครื่องมือ ซึ่งจุดประสงค์ของการกดเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มนี้ก็เพื่อ ‘เทรด’ ฉะนั้นจะพลาดการเลือกสินทรัพย์ ปริมาณการเทรด ประเภทและการเปิดปิดสถานะคำสั่งซื้อไปไม่ได้เลย เริ่มแรกต้องคลิกที่ New Order แล้วจะพบหน้าต่างเด้งขึ้นมาให้ปรับค่าต่าง ๆ ตามความต้องการ

MetaTrader-pop up

หลังจากนั้นเทรดเดอร์ต้องกดเลือกนำ Indicator ที่ต้องการใช้ มาใส่ในกราฟราคาเลย ท้ายสุดหากต้องการนำข้อมูลการเทรดของตนออกมาเพื่อวิเคราะห์ในภายหลังก็สามารถทำได้ โดยคลิกขวาที่ Account History ในแผงเมนู Terminal แล้วเลือกว่าต้องการประวัติการเทรดช่วงไหน เมื่อเลือกเสร็จก็คลิกขวาอีกครั้ง แล้วเลือก Save as Report ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

วิธีการติดตั้ง MT4

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)